วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

งานวิจัยการพัฒานทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

วิจัย การพัฒนาทักษะทางภาษา โดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง

ชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะทางภาษา โดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง
ผู้วิจัย กนกศรี วงษ์ษา
การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 17 คน โรงเรียนวัดใดใหญ่ อ.เมือง จ.ลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แผนการจัดการประสบการณ์ กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง แบบทดสอบความสามารถทางภาษา แบบวัดความรู้ของเด็กปฐมวัย แบบสังเกตุพัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา ใช้ t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.5 ผลการวิจับพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความสามารถด้านการฟังหลังทดลองสูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความสามารถด้านการพูดหลังทดลองสูงขึ้น
3. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความรู้หลังทดลองสูงขึ้น
4. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา หลังทดลองสูงขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น