วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ปริศนาคำทาย

1. อาจารย์ตรวจสอบงานปริศนาคำทาย และอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม
- การทำ Power Point
- การจัดรูปแบบตัวอักษร
- สีพื้นหลัง- การใส่รูปภาพ
2. อาจารย์ได้มีการตรวจสอบงานอย่างละเอียดเป็นรายบุคคล ได้มีการชี้แจงสิ่งที่ต้องแก้ไข และเพิ่มเติม อธิบายรูปแบบผลงานโดยรวมว่าต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง ซึ่งอาจารย์ได้มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัย ทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ ทุกคนตั้งใจรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับงาน^_^

ปริศนาคำทาย คือ ปัญหาที่ตั้งขึ้นมา เพื่อให้ทายว่าสิ่งนั้นคืออะไร มักขึ้นต้นด้วยคำว่า "อะไรเอ่ย"เช่น

อะไรเอ่ย ปิ้งเเล้วหด บดเเล้วยืดคำตอบ ปลาหมึก

อะไรเอ่ย พอสว่างมันมือ พอมืดมันสว่างคำตอบ ดาว

อะไรเอ่ย นุ่มนิ่มเหมือนปุยฝ้าย ทั่วกายขนฟู หางสั้นกว่าหู ทายดูอะไรคำตอย กระต่าย

ถ้อยคำที่ใช้ในปริศนาทายมักใช้คำที่คล้องจองกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป. 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ข้อสอบ

1.ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง
~ ครูกับแด็กต้องมีการวางแผนกัน คิดร่วมกัน ทำด้วยกัน ซึ่งต้องเป็นบรรยากาศที่มีลักษณะที่ร่วมมือกัน การวางแผนนั้นก็จะมีการวางแผนระยะยาว เพื่อที่จะวางกรอบความคิดกว้างๆ และการวางแผนระยะสั้นโดยที่ครูและเด็กใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม~ นอกจากนี้การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยก็จะมี~ การฟังและการพูด ก็คือ เด็กจะได้ยินเสียงพูด แม้ว่าเด็กยังพูดไม่ได้ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ในการพูด นอกจากนี้แล้ว การพูดของพ่อแม่ต้องให้เหมาะสมกับเด็กด้วย นอกจากการพูดแล้วก็ยังบูรณาการกับการฟัง เพราะเวลาเราพด เด็กจะได้ยินได้ฟังไปด้วย ยิ่งได้ฟังมากก็ทำให้เรียนรู้ได้มาก~ การอ่านและการเขียน การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกๆวันเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นสำหรับเด็กเพื่อที่จะพัฒนาภาษาเขียน เนื้อหาที่อ่านนั้นต้องเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กเพื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่เด็กเอง เพราะว่าเด็กจะมีประสบการณ์เดิมของเขาอยู่แล้ว
2. การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร·
เพื่อต้องให้เด็กเข้าใจในภาษาต่างๆที่ได้รับรู้เข้ามา· เพื่อต้องการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาที่ถูกต้องอย่างชัดเจน· เพื่อต้องการให้เด็กสามารถสื่อสารกับผู้ได้อย่างเข้าใจ
3. หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง
· ภาษาต้องประกอบด้วยทักษะ 4ด้านคือ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน· ครูต้องมีบทบาทที่ดีและเข้าใจถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนในการใช้ภาษา· เด็กที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากๆ จะมีโอกาสใช้ภาษาได้ดีขึ้น
4. ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไร
1. ให้ผู้ปกครองเล่านิทานให้เด็กฟังทุกๆวัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อได้สังเกตทักษะการฟังของเด็ก
2. ในแต่ละวันผู้ปกครองควรฝึกภาษาที่สองกับเด็ก โดยใช้สื่อที่เป็นบัตรคำ เพื่อได้ฝึกทักษะการอ่านเขียนของเด็ก
3. ผู้ปกครองควรร่วมกิจกรรมกับเด็กบ่อยๆ เพื่อได้สร้างความสัมพันธ์กันมากขึ้น เด็กจะได้มีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ
4. ร่วมร้องเพลงกับเด็ก เพื่อฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่าน แต่เพลงนั้นต้องเป็นเพลงสั้นๆ ได้ใจความ เช่น เพลงที่เป็นคำคล้องจอง เพลง เพลงลูกเป็ด5ตัว5.ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล ชื่อ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ประเมินผล~ กิจกรรม คือ เอะ เอะ เสียงอะไรหว่า เสียงประกาศ~
วัตถุประสงค์
1. เพื่อต้องการให้เด็กได้เข้าใจภาษาที่มีหลายรูปแบบ
2. เพื่อต้องการให้เด็กได้ทักษะการฟังจากเสียงที่ได้ยิน
3. เพื่อต้องการให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมกับผู้อื่น~ กิจกรรมนำเสียงประกาศต่างๆมาให้เด็กฟัง เช่น น้องอนุบาล2กลับได้ค่ะ, น้องอนุบาล2นำชุดว่ายน้ำมาโรงเรียนด้วยค่ะ เป็นต้นหลังจากนั้น เปิดให้เด็กฟังที่ละประกาศ แล้วตั้งคำถามถามเชิญชวนให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยให้พูดเสียงประกาศตามจินตนาการของเด็ก~ ประเมินผลจากการได้ทำกิจกรรม เด็กให้ความร่วมมือกันดีมาก ตั้งใจฟัง และตอบคำถามกัน แต่เด็กบ้างคนก็จะไม่พูดอะไรบ้างคนก็ไม่ร่วมกิจกรรม แต่ส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือกันดี เด็กๆมีความคิดตามจินตนาการของตัวเอง และทักษะการฟังพูดก็ดี~ เหตุผลเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ นำเสียงต่างๆมาให้เด็กฟังเด็กก็จะเกิดความสงสัย อยากรู้อยากเห็น แต่เสียงที่นำมานั้นต้องเหมาะสม ชัดเจนกับเด็ก

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

งานวิจัยการพัฒานทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

วิจัย การพัฒนาทักษะทางภาษา โดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง

ชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะทางภาษา โดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง
ผู้วิจัย กนกศรี วงษ์ษา
การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 17 คน โรงเรียนวัดใดใหญ่ อ.เมือง จ.ลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แผนการจัดการประสบการณ์ กิจกรรมการใช้คำคล้องจองประกอบท่าทาง แบบทดสอบความสามารถทางภาษา แบบวัดความรู้ของเด็กปฐมวัย แบบสังเกตุพัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา ใช้ t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.5 ผลการวิจับพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความสามารถด้านการฟังหลังทดลองสูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความสามารถด้านการพูดหลังทดลองสูงขึ้น
3. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีความรู้หลังทดลองสูงขึ้น
4. เด็กปฐมวัยที่รับประสบการณ์การใช้คำคล้องจองประกอบท่าทางมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา หลังทดลองสูงขึ้น